6

บารมี10

ในเหตุการณ์การผจญของพระพุทธเจ้านี้ ถือว่าเป็นพุทธจริยาที่ควรยึดถือเป็นแบบอย่างสำหรับนักเรียนอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ความเพียรวิริยะอุตสาหะความอดทน  การสั่งสมความดี  และการใช้ความรอบคอบมีเหตุผล  ที่จะต่อสู้กับพญามารคือ  กิเลส  ซึ่งได้แก่  ความสุขสบาย  ความโลภ  ความโกรธ  ความหลงและความริษยาต่างๆ  เป็นต้น พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญความดี คือ  บารมี 10 ประการ(หรือ บารมี 10 ทัศ) มาอย่างต่อเนื่อง  จึงสามารถชนะอุปสรรคที่คอยขัดขวางไปได้

บารมี 10 ทัศ

บารมี แปลว่า “เต็ม” ซึ่งหมายถึง “การทำให้กำลังใจเต็ม ทรงอยู่ในใจให้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์
ไม่บกพร่องทั้ง ๑๐ ประการ”

1.ทานบารมี   จิตพร้อมในการให้ทานเป็นปกติ
2.ศีลบารมี     จิตพร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ
3.เนกขัมมะบารมี   จิตพร้อมในการถือบวชเป็นปกติ ในที่นี้หมายถึงบวชใจ
4.ปัญญาบารมี       จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหารอุปาทานให้พังพินาศไป
5.วิริยะบารมี          มีความเพียรในทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
6.ขันติบารมี          มีความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งอันเป็นปฏิปักษ์
7.สัจจะบารมี   ทรงตัวไว้ว่าเราจะทำจริงทุกอย่างในด้านของการทำความดี ไม่มีคำไม่จริงสำหรับใจเรา
8.อธิษฐานบารมี   ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
9.เมตตาบารมี      สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
10อุเบกขาบารมี   การวางเฉยในกาย เมื่อมันไม่ทรงตัว

บารมีในขั้นต้นกระทำด้วยจิตอย่างอ่อนเป็นขั้นพระบารมี เมื่อจิตดำรงบารมีขั้นกลางได้ เรียกว่า พระอุปบารมี และเมื่อจิตดำรงบารมีขึ้นไปถึงที่สุดเลย เรียกว่าพระปรมัตถบารมี หรือบารมี 30 ทัศ หรือมีศัพท์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พระสมติงสบารมี หมายถึง พระบารมีสามสิบถ้วน ซึ่งเป็นธรรมพิเศษหมวดหนึ่ง มีชื่อว่า พุทธกรณธรรม เป็นธรรมพิเศษที่กระทำให้ได้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้่า พระโพธิสัตว์ที่ต้องการจะเป็นพระพุทธเจ้า ต้องบำเพ็ญธรรมหมวดนี้ หรือมีชื่อหนึ่งเรียกว่าโพธิปริปาจนธรรม คือธรรมสำหรับพระพุทธภูมิ หรือชาวพุทธเราทั่วไปเรียกว่า พระบารมี หมายถึง ธรรมที่นำไปให้ถึงฝั่งโน้น คือ พระนิพพาน

  • ทาน การให้ เป็นการตัดความโลภ
  • ศีล เรามีก็ตัดความโกรธ
  • เนกขัมมะ เป็นการตัดอารมณ์ของกามคุณ
  • ปัญญา ตัดความโง่
  • วิริยะ ตัดความขี้เกียจ
  • ขันติ ตัดความไม่รู้จักอดทน
  • สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก
  • อธิษฐาน ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์
  • เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ
  • อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเรา

บารมีจัดเป็น 3 ชั้น คือ

  1. บารมีต้น ในขั้นเต็ม การรักษาศีลของบารมีขั้นต้นจะไม่ถึงศีล 8 และจะยังไม่พร้อมในการเจริญพระกรรมฐาน ศีลบกพร่อง ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์
  2. อุปบารมี เป็นบารมีขั้นกลาง พร้อมที่ทรงฌานโลกีย์ จะพอใจการเจริญพระกรรมฐาน และทรงฌาน แต่ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนา ยังไม่พร้อมที่จะไปและไม่พร้อมที่จะยินดีเรื่องพระนิพพาน พร้อมอยู่แค่ฌานสมาบัติ
  3. ปรมัตถบารมี ในอันดับแรกอาจจะยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนิพพาน พอสัมผัสวิปัสสนาญาณขั้นเล็กน้อย อาศัยบารมีเก่า ก็มีความต้องการพระนิพพาน จะไปได้หรือไม่ได้ในชาตินี้นั้นไม่สำคัญ เพราะการหวังนิพพานจริง ๆ ต้องหวังกันหลายชาติจนกว่าบารมีที่เป็นปรมัตถบารมีจะสมบูรณ์แบบ